วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พาณิชย์อิเล็กโทรนิค

สรุป

การพาณิชย์อิเล็กโทรนิกส์

พาณิชย์อิเล็กโทรนิค คือ การซื้อ การขาย การแลกเปลี่ยนสินค้าบริการผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ เช่น ผ่านอินเตอร์เน็ต มีขอบเขตที่กว้าง สั่งในเชิงเทคโนโลยีที่มีการใช้อุปกรณ์พื้นฐาน เช่น โทรศัพท์มือถือ มีการโฆษณาสินค้า

    ตัวอย่างเช่น
1. การสั่งพิซซ่า
2.การส่งข้อมูลในขนส่งโดยผ่านระบบ DEI
3.การซื้อหนังสือจากเว็บไซต์ Amazon.com

     การซื้อขายต้องผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการขายเชื่อมโยงกันทั่วโลก ที่สำคัญต้องมีหน้าร้าน ชื่อร้าน มีรายละเอียดสินค้า การขนส่ง จะทำให้ระบบทำงานได้สำเร็จ
     ตัวอย่างหน้าเว็บ E-commerce เช่น เว็บไซต์ Amazon.com

E-Bussiness 
   คือ การซื้อขายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งE-Bussiness จะมีขนาดใหญ่กว่า E-commerce 
การดำเนินธุรกิจโดยอาสัยเทคโนโลยีด้านอิเล็กโทรนิกส์ โดยผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง

E-Suupply Chain
  คือ e-Supply Chain เป็นกระแสธุรกิจแบบ e-Business ที่บริษัทหรือองค์กร รวมทั้งคู่ค้าที่มาทำธุรกิจร่วมกัน มีเป้าหมายอย่างเดียวกัน ที่จะนำไปสู่ทีมที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน ขนวนการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ(Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดจำหน่าย (Distribution) การขนส่ง(Transportation) และการจัดเก็บ (Storage) ที่เชื่อมโยงกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเป็นโซ่อุปทานหรือเครือข่าย เพื่อให้เกิดการประสานงานกันอย่างต่อเนื่องส่งผลทำให้การดำเนินงานมีต้นทุนที่ต่ำและมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการเชื่อมโยงขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันนี้ ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะขั้นตอนต่างๆ ในองค์กรเท่านั้น แต่ยังจะเชื่อมต่อกับองค์กรอื่นๆ ภายนอกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคู่ค้า ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายหรือร้านค้าปลีก


Pure E-commerce  คือ  การทำธุรกรรม E-commerce ในรูปแบบดิจิตอล Digital ทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนที่เริ่มจาก 
-          การสั่งซื้อสินค้า  หรือ บริการ  
-          กระบวนการชำระเงิน
-          การส่งมอบ 
ตัวอย่างเช่น การซื้อขาย โปรแกรม เพลง หรือ เกมส์  ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต


Partial E-commerce คือ  การทำธุรกรรม E-commerce ที่บางขั้นตอนยังอยู่ในรูปแบบกายภาพ (Physical)    เช่น การสั่งซื้อตำรา  ต้องมีการขนส่งผ่านระบบขนส่งปกติทั่วไป  หรือ การชำระเงินโดยใช้วิธีโอนผ่านธนาคาร หรือ ATM  เป็นต้น

usiness Model Of E-Commerce

Brick – and – Mortar Organization

Old-economy organizations (corporations) that perform most of their business off-line ,selling physical product by means of physical agent. => Traditional

Virtual Organization

Organization that conduct their business activities solely online. => Pure

Click – and – Mortar Organization

Organization that conduct some e-commerce activities , but do their primary business in the physical world. => Partial
-          รูปแบบของการทำ e-commerce ที่มีรูปแบบการผสมผสานระหว่างผู้ที่มีธุรกิจร้านค้าหรือมีบริษัท เปิดให้บริการทำการค้าจริงๆ และมีเว็บไซต์เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการขาย
-          คำว่า Mortar คือการก่อสร้างบ้านอาคาร เปรียบได้กับธุรกิจที่มีหน้าร้านค้าจริงๆ โดยบางคนจะเลือกใช้คำว่า “Brick” แทนคำว่า Mortar
-          เหมาะสำหรับผู้ที่มีกิจการค้าเดิมอยู่แล้ว และต้องการขยายเพิ่มช่องทางการค้าไปสู่ภายนอกทั้งระดับประเทศและทั่วโลก
-          การทำ e-commerce ที่มีรูปแบบการค้าขายหรือให้บริการผ่านทางเว็บไซต์และอินเทอร์เน็ตเพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ไม่มีธุรกิจหรือร้านค้าจริงๆ ที่ให้คนสามารถไปซื้อหรือรับสินค้าหน้าร้านได้

ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
แบ่งออกเป็น
1.       กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร Profit Organization
-          Business – to – Business (B2B)
คือรูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ เป็นการซื้อขายทีละปริมาณมากๆ          มีมูลค่าการซื้อขาย  แต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก เป็นการค้าส่ง เช่น ผู้ผลิตขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางเป็นธุรกิจนำเข้า - ส่งออก ชำระเงินผ่านระบบธนาคารด้วยการเปิด L/C หรือในรูปของ Bill of Exchange อื่นๆ
-          Business – to – Customer (B2C)
คือรูปแบบการจำหน่ายสินค้าโดยตรงจากผู้ค้ากับผู้บริโภคโดยตรง เป็นการค้าปลีก
-          Business – to – Business – to – Customer (B2B2C)
หมายถึง การเชื่อมต่อ B2B และ B2C เข้าด้วยกัน นั่นก็คือ เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมที่ธุรกิจได้ขายช่วงต่อไปยังภาคธุรกิจด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นบริษัทในเครือหรือกลุ่มธุรกิจเดียวกันแต่ในด้านการส่งมอบสินค้าหรือบริการ ก็ยังคงส่งมอบไปยังผู้บริโภคโดยตรงในแต่ละราย หรือองค์กรธุรกิจขายให้องค์กรธุรกิจด้วยกัน แต่องค์กรจะจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าอีกทีหนึ่ง
-          Customer – to – Customer (C2C)
เป็นรูปแบบการซื้อขาย สินค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่นการประกาศขายสินค้าใช้แล้ว
-          Customer – to – Business (C2B)
หมายถึง เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการในอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้บริโภคกลับมีสถานะเป็นผู้ค้าและมีบทบาทในการต่อรองเพื่อตั้งราคาสินค้า จากนั้นผู้ประกอบการก็จะนำราคาที่ลูกค้าเสนอมาให้กับผู้ขายปัจจัยการผลิตพิจารณาว่าสามารถจำหน่ายหรือขายได้ในราคานี้หรือไม่ หรือการที่ลูกค้าสามารถระบุตัวสินค้าหรือบริการเฉพาะเจาะจงลงไป แล้วองค์กรเป็นตัวจัดหาสินค้าหรือบริการให้ลูกค้า
เป็นรูปแบบการค้าที่ใกล้ตัวมากๆ จนเรานึกไม่ถึง เป็นรูปแบบการค้าที่ Consumer หรือผู้ใช้นำสินค้ามา Reviews หรือวิเคราะห์สินค้า จนเว็บเราดังมีคนสนใจเข้ามาชมมาก เราก็จะทำธุรกิจ (Business) กับ Amazon โดยการเอาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับที่เรา Reviews มาขาย ซึ่งถ้าขายได้ Amazon ก็จะแบ่งตังให้กับเรา หรือแม้แต่ Adsense ก็เป็นธุรกิจแบบ C2B คือ Consumer ทำธุรกิจกับ Business โดยนำเสนอสิ่งที่ Business ต้องการ ซึ่งในกรณีAdsense ที่เขาต้องการก็คือเนื้อหาเว็บที่ดีมีประโยชน์ของ Consumer ที่ทาง Google จะเอาไปขายต่อให้กับพวกที่ต้องการโฆษณาบนเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสินค้าตนเอง หรือพวกที่ทำ Adwords ไงครับ
-          Mobile Commerce
หรือ M-Commerce หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการเงิน โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อและขายสินค้าต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล์ หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีความสะดวกสบาย ไม่มีข้อจำกัดในการจับจ่าย โดย M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่ง M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce 

ขอบเขตของ M-Commerce จะครอบคลุมทั้งการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจกับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ B2C และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง B2B



2.       กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร Non-Profit Organization
-          Intrabusiness (Organization) E-Commerce
อีคอมเมิร์ซภายในองค์กรหรือแบบอินทราออร์ก (Intra-Org E-commerce) คือ การใช้อีคอมเมิร์ซในการช่วยให้บริษัทหรือองค์ใดองค์กรหนึ่งสามารถปรับปรุงการทำงานภายในและให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
-          การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรจะสะดวกรวดเร็วจะได้ผลดีขึ้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอนเฟอเรนซ์ และป้ายประกาศ เป็นต้น
   การจัดพิมพ์เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีพับลิซซิง (Electronic Publishing) ช่วยให้บริษัทสามารถออกแบบเอกสาร จัดพิมพ์เอกสาร และแจกจ่ายเอกสารได้สะดวกรวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือข้อกำหนดสินค้า (Product Specifications) รายงานการประชุม เป็นต้น ทั้งนี้โดยผ่านเว็บ
   การปรับปรุงประสิทธิภาพพนักงานขาย การใช้อีคอมเมิร์ซแบบนี้ช่วยปรับปรุงการสื่อสารระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายขาย และระหว่างฝ่ายขายกับลูกค้า ทำให้ได้ประสิทธิภาพดีขึ้น
-          Business – to – Employee (B2E)
การทำธุรกรรมระหว่างธุรกิจกับพนักงาน (Business-To-Employee–B2E) มุ่งเน้นการให้บริการแก่พนักงานในด้านต่าง ๆ เช่น ข้อมูลของสินค้าและบริการ กิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างผู้ประกอบการ องค์กร กับพนักงาน โดยอาศัยระบบเครือข่าย
-           Government – to – Citizen (G2C)
การทำธุรกรรมระหว่างองค์กรของรัฐกับประชาชน (Government-To-Citizen–G2C) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชนโดยไม่หวังผลกำไร แต่เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ บริการข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เช่น การยื่นแบบชำระภาษีของกรมสรรพากร
-          Collaborative Commerce (C-Commerce) เช่น เครือซีเมนต์ไทย
ซี คอมเมิร์ซ (c-Commerce) หรือ Collaborative Commerce เป็นที่รู้จักกันในต่างประเทศได้เป็นเวลานานพอควรแล้วภายหลังจากการเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากได้สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive advantage) แก่บริษัทที่นำไปใช้อย่างเห็นได้ชัด อุตสาหกรรมที่ริเริ่มใช้ ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมอากาศยาน และในปัจจุบันได้แพร่ขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ก่อสร้าง เครื่องจักร รวมไปถึงอุตสาหกรรมบริการต่างๆ
สำหรับในประเทศไทยซี-คอมเมิร์ซ เริ่มมีการกล่าวถึงมากขึ้น เนื่องจากการตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเตรียมความพร้อมในการต่อสู้กับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดโลก และตัวอย่างของความสำเร็จที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ Wasserstein Perella Securities, Inc. ได้ออกรายงานการศึกษาว่า นับจากนี้ไปถึง ปีข้างหน้า บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งสามของสหรัฐอเมริกา จะสามารถ
-          Exchange – to – Exchange (E2E)
การทำธุรกรรมด้านการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ (Exchange-To-Exchange–E2E) เป็นช่องทางสำหรับใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน
-          E-Learning
e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอมการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 



E-Commerce Business Model แบบจำลองทางธุรกิจ
            แบบจำลองทางธุรกิจ หมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้  นอกจากนี้  ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม Value Add ให้กับสินค้าและบริการ
            วิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมา  เพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่  อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ 

online catalog
E-tailer
Auction
Web Board
E-Markatplace


Cloud Computing

Cloud Computing 
loud Computing คืออะไร มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ในแง่ใด
 

Cloud Computing เกิดจากการแทนสัญลักษณ์อินเตอร์เน็ตด้วยรูปก้อนเมฆ  คำว่าก้อนเมฆก็ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Cloud ดังนั้นเมื่อเกิดระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนอินเตอร์เน็ตจึงเทียบเคียงได้เหมือนกับการทำงานบนก้อนเมฆ และผู้ที่เรียกคำนี้เป็นคนแรกก็ไม่ใช่ใครอื่นใดนั่นก็คือ อีริค ชมิดท์ ซีอีโอของ google นั่นเอง 
    หากจะอธิบายกระบวนการของ Cloud Computing ให้ง่ายที่สุดมันก็เหมือนกับการฝากขายสินค้าในเซเว่นอีเลฟเว่น ที่ผู้ผลิตไม่ต้องมีหน้าร้านค้าเอง ไม่ต้องมีระบบส่งของ แต่จะมีมืออาชีพมาจัดการด้านการขายและกระจายสินค้าให้ได้เป็นอย่างดี โดยคิดค่าบริการตามความเหมาะสม   ระบบ Cloud Computing ก็เช่นเดียวกันที่ผู้ผลิตไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตน แต่เป็นการใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญที่จัดการให้เสร็จสรรพ ตัวอย่างผู้ให้บริการ Cloud Computing ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ Amazon EC2 ที่เปรียบเป็นเหมือนบริการ server สำหรับทำงานและประมวลผลข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต  ผู้ใช้เพียงแค่อัพโหลดข้อมูลฮาร์ดดิสก์ทั้งลูกที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการให้เรียบร้อยขึ้นสู่ server ของ amazon ระบบ Cloud Computing ก็จะประมวลผลข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ลูกนั้น พร้อมมีช่องทางอินเตอร์เน็ตให้ครบครัน ผู้ใช้บริการไม่ต้องซื้อ server หรือ จ้างวิศวกรมาดูแล เพียงแค่ จ่ายค่าบริการให้ Amazon ตามอัตราการใช้งาน เช่น เวลาในการประมวลผลบน CPU หรือจำนวนข้อมูลรับส่ง แล้วหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบสำรองข้อมูลไม่ให้ล่มก็เป็นหน้าที่ของ Amazon เราโยนงานที่ไม่เก่งให้ผู้เชี่ยวชาญดูแล 
    ถึงตรงนี้บางคนก็สงสัยว่าแล้วมันต่างกับการเช่า server อย่างไร คำตอบคือ Cloud Computing นั้นไม่ได้ทำงานบนเครื่องเดียวเหมือนกับการเช่า server แต่เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันคล้ายๆกับ Grid Computing ข้อดีของระบบ Cloud Computing จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง  สามารถรับภาระการทำงานหนักๆได้ ยกตัวอย่างเว็บ Twitter มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วมาก ถ้าใช้ server ของตัวเองคงจะมีปัญหาว่าต้องใช้ server เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม เพราะจำนวนผู้ใช้มีเพิ่มขึ้นตลอดเวลา แต่ถ้าใช้ระบบ Cloud Computing จะไม่เป็นปัญหา สามารถกระจายการทำงานไปยัง server อื่นๆโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องกังวลว่า server จะล่มเมื่อมีผู้ใช้บริการมาก
    ในปัจจุบันนอกจาก Amazon EC2 ผู้ให้บริการระบบ Cloud Computing อื่นก็มี เช่น Amazon S3, Google App Engine, Window Azure และ Salesforce.com ระบบ Cloud Computing จึงมีประโยชน์ในแง่ธุรกิจ เพราะลดความเสี่ยงจากความเสียหายในสิ่งที่ไม่เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ผู้ใช้ตามบ้านเองก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน ยกตัวอย่างโปรแกรม Panda Cloud Antivirus ที่ไม่ต้องคอยอัพเดตตลอด เนื่องจากนำข้อมูลไปทำงานบน server จึงได้รับการป้องกันจากขุมพลัง Cloud Computing อยู่เบื้องหลัง  ซึ่งมีแนวโน้มว่าบริการโปรแกรมต่างๆ ขึ้นไปอยู่บนอินเตอร์เน็ตและจัดการด้วยระบบ Cloud Computing มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นบริการแต่งภาพ ทำเอกสารบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ราคาแพง คุณสมบัติสูง และไม่ต้องลงโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วที่นี้ใครคิดว่าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงนั้นไม่สำคัญก็คงต้องอาจเปลี่ยนใจ  เพราะทุกอย่างกำลังไปอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ต


จุดเด่น ข้อดี-ข้อเสีย


องค์ประกอบของระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ

ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญคือ

· อินเตอร์เน็ตที่มีช่องสัญญาณสูงจนเกือบจะไม่มีจำกัด (Nearly unlimited bandwidth)
· เทคโนโลยีระบบเสมือนจริง (Increasingly sophisticated virtualization technologies)
· สถาปัตยกรรมเครือข่ายที่รองรับการเข้าถึงพร้อมกันจำนวนมาก (Multitenant Architectures)
· ลักษณะการใช้งานได้ของเซิรฟ์เวอร์ประสิทธิภาพสูง (Availability of extremely powerful servers)

จุดเด่นของ Cloud Computing

1) Agility : มีความรวดเร็วในการใช้งาน

2) Cost : ค่าใช้จ่ายน้อย หรืออาจไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับ Client

3) Device and Location Independence : ใช้ได้ทุกที่แค่มีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต

4) Multi-Tenancy : แบ่งการใช้ทรัพยากรให้ผู้ใช้จำนวนมากได้

5) Reliability : มีความน่าเชื่อถือ

6) Scalability : มีความยืดหยุ่น

7) Security : มีความปลอดภัย

8) Sustainability : มีความมั่นคง

ข้อดีของ Cloud Computing

1) ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งาน จริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น

2) ลดความเสี่ยงการเริ่มต้น หรือการทดลองโครงการ

3) สามารถลดหรือขยายได้ตามความต้องการ

4)ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง

5) อยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

ข้อเสียของ Cloud Computing

1) จากการที่มีทรัพยากรที่มาจากหลายแห่ง จึงอาจเกิดปัญหาด้านความต่อเนื่องและความรวดเร็ว

2) ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล

3) แพลทฟอร์มยังไม่ได้มาตรฐาน  ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ site

4) เนื่อง จากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการHost ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

งานบทที่ 9

งานบทที่ 9

www.pizzahut.co.th



1.การทำวิจัยการตลาด

      ปัจจัยแห่งความสำเร็จของเดอะพิซซ่า คือ การทำตามความต้องการของผู้บริโภคโดยการผลิตรสชาติใหม่ๆ เช่น ตามเทศกาลต่างๆ และการบริการที่เน้นความสะดวกสบายของลูกค้า และการจ้ดส่งแบบรวดเร็ว Delivery และมีการลงทุนโดยมีการเปิดสาขาที่ต่างประเทศอีกด้วย 
"พิซซ่า" เป็นอาหารฟาส์ตฟู้ดที่เริ่มรู้จักอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมในเมืองไทยนับตั้งแต่พิซซ่าฮัท ซึ่งเป็นเฟรนไชน์แบรนด์อินเตอร์เจ้าแรกมาเปิดตลาดเป็นสาขาแรกและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจนมีสาขามากมายทุกมุมเมืองในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ และในที่สุดตลาดพิซซ่าก็ร้อนแรงขึ้นเมื่อมีปัญหาภายในทำให้ผู้บริหารเก่าต้องออกมาจากพิซซ่าฮัทและสร้างแบรนด์ใหม่ภายใต้ชื่อ "เดอะพิซซ่า" ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรงของพิซซ่าฮัท เมื่อเดือนมีนาคม 2544 และภายในเวลาแค่ 3 ปี เดอะพิซซ่าก็กลายเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งตลาดประมาณ 70% นับเป็นกรณีที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

2.การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด

แผนการตลาดของThe Pizza มีการตั้งเป้าหมายที่จะขยายตลาดเพิ่มขึ้นจากเดิม 30% ภายใน 3 ปี เพื่อที่จะครองส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ โดยมีการพัฒนาตัวสินค้าออกมาในรูปแบบใหม่ๆ จัดบูดแสดงผลิตพันธ์ตามห้างดังๆ การบริการส่งฟรีถึงบ้าน ขยายสาขาเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยง่าย และต้องการที่จะให้แบนร์เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ เช่นเพิ่มสาขาในจีน ทำโบชัวแนะนำผลิตพันธ์ใหม่ๆพร้อมโปรโมชั่น และยังสำรวจความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมออีกด้วยการสร้าง
กลุ่มเป้าหมาย โดยจะต้องเข้าถึงลูกค้าในรูปแบบต่างๆ ให้สินค้าเป็นที่รู้จัก และอยากทดลองรับประทาน ไม่สร้างความจำเจ พยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบสื่อและผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่สนใจ แบบ ต่อเนื่องสมำ่เสมอ The Pizza ต้องการเจาะกลุ่มตลาดต่างประเทศและในประเทศเพื่อให้สินค้าติดอั นดับเป็นที่นิยมและยอมรับจากทั่วโลก  

3.การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

วัตถุประสงค์การสื่อสารการตลาดของThe Pizzaคือ ต้องการทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับโดยการพัฒนาสินค้าใหม่อย่างต่อ เนื่องให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า เพื่อให้สามารถสร้างจุดเด่นของสินค้าได้และให้เป็นที่ยอมรับของ ทั่วโลกให้มากที่สุด pizza มีการทำตามความต้องการของผู้บริโภคโดยมีการผลิตรสชาติใหม่อยู่ต ลอดและการบริการส่งฟรีถึงบ้านภายใน30นาทีและยังมีการสำรวจความต ้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ ต้องการทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับ โดยการพัฒนาสินค้าใหม่อย่างต่อ เนื่องเพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และสามารถสร้างจุดเด่นของสินค้าได้โดยการส่งแบบถึงบ้านและมีการ กระตุ้นให้พนักงานบริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับให้เป็นที่ยอมรับของ
ผู้บริโภคทั่วโลกให้มากที่สุด   

4.การกำหนดราคา


พิซซ่าแป้งหนานุ่ม/ขอบฮัทเฟเวอร์ริท ถาดเล็ก หมวดเลิฟเวอร์ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 149 บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 225 บาท
พิซซ่าแป้งหนานุ่ม/ขอบฮัทเฟเวอร์ริท /บางกรอบ ถาดกลาง หมวดเลิฟเวอร์ ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 199 บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 299 บาท
พิซซ่าแป้งหนานุ่ม/ขอบฮัทเฟเวอร์ริท /บางกรอบ ถาดใหญ่ หมวดเลิฟเวอร์ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 298 บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 398 บาท
พิซซ่าขอบชีส, ขอบไส้กรอกชีส ถาดกลาง หมวดเลิฟเวอร์ ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 329 บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 429 บาท
พิซซ่าขอบชีส, ขอบไส้กรอกชีส และชีสซี่ ซอสเซจ ไบท์ ถาดใหญ่ หมวดเลิฟเวอร์ ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 428 บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 528 บาท
พิซซ่าแป้งหนานุ่ม/ขอบฮัทเฟเวอร์ริท ถาดเล็ก หมวดสุพรีม ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 179 บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 245 บาท
พิซซ่าแป้งหนานุ่ม/ขอบฮัทเฟเวอร์ริท /บางกรอบถาดกลาง หมวดสุพรีม ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 259 บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 339 บาท
พิซซ่าแป้งหนานุ่ม/ขอบฮัทเฟเวอร์ริท /บางกรอบ ถาดใหญ่ หมวดสุพรีม ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 358 บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 438 บาท
พิซซ่าขอบชีส, ขอบไส้กรอกชีส และชีสซี่ ซอสเซจ ไบท์ถาดกลาง หมวดสุพรีม ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 389 บาท บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 469 บาท
พิซซ่าขอบชีส, ขอบไส้กรอกชีส และชีสซี่ ซอสเซจ ไบท์ ถาดใหญ่ หมวดสุพรีม ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 488 บาท บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 568 บาท
พิซซ่าแป้งหนานุ่ม/ขอบฮัทเฟเวอร์ริท ถาดเล็ก หมวดซีฟู๊ด ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 199 บาท บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 265 บาท
พิซซ่าแป้งหนานุ่ม/ขอบฮัทเฟเวอร์ริท /บางกรอบ ถาดกลาง หมวดซีฟู๊ด ถาดเล็ก ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 299 บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 359 บาท
พิซซ่าแป้งหนานุ่ม/ขอบฮัทเฟเวอร์ริท /บางกรอบ ถาดใหญ่ หมวดซีฟู๊ด ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 398 บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 458 บาท
พิซซ่าขอบชีส, ขอบไส้กรอกชีส และชีสซี่ ซอสเซจ ไบท์ถาดกลาง หมวดซีฟู๊ด ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 429 บาท บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 489 บาท
พิซซ่าขอบชีส, ขอบไส้กรอกชีส และชีสซี่ ซอสเซจ ไบท์ ถาดใหญ่ หมวดซีฟู๊ด ราคาเริ่มต้นที่ถาดละ 528 บาท บาท ยกเว้น สาขาสีลม 64, มาบุญครอง, พัทยา, เดอะพลาซ่าเชียงใหม่, จางซีลอน ราคา 588 บาท

5.การจัดช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางจำหน่ายแบบออนไลน์การให้บริการปกติสำหรับบริการจัดส่งถึงบ้าน
 คือ ตั้งแต่เวลา 10.00-22.00 น. ทุกวัน




วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แบบการโฆษณาบนเว็บ

จงอธิบายณุปแบบการโฆษณาบนเว็บดังนี้ พร้อมทั้งยก
ตัวอย่างประกอบ

1. การโฆษณาผ่านทางแบนเนอร์
ตอบ แบนเนอร์ คือรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาบนเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการวางภาพโฆษณาลงไปบนหน้าเว็บแล้วทำไฮเปอร์ลิงก์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF JPEG PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด ปกติแล้วภาพในเว็บแบนเนอร์จะมีอัตราส่วนขนาดกว้างยาวที่สูง (ซึ่งจะทำให้แบนเนอร์มีขนาดกว้างแต่แบน หรือสูงแต่แคบ) ในลักษณะเดียวกับป้ายโฆษณา ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกจัดวางลงในหน้าเว็บที่มีเนื้อหาน่าสนใจ อย่างเช่นบทความจากหนังสือพิมพ์หรืองานเขียนวิพากษ์วิจารณ์



2. การโฆษณาผ่านทางป๊อบอัพ
ตอบ อภาพที่เป็นวินโดว์เล็กๆ ผุดขึ้นมาในขณะที่คุณเปิดเว็บเพจอาจจะเป็นการโฆษณาสินค้าหรือแจ้งข่าวสารบางอย่างให้คุณได้รับทราบ แต่ที่เป็นปัญหาก็คือมันผุดขึ้นมามากจนเกินไปสร้างความรำคาญรวมทั้งอาจจะเป็นช่องทางให้ Spyware , Virus ฯลฯ เข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้
Pop-up สามารถประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจอย่างน่าสนใจ นั่นคือ นำมาใช้ในการสร้างเอาท์เลตที่สามารถขายสินค้าหรือตอบสนองลูกค้าได้ แต่เป็นลักษณะแบบป๊อปอัพ คือผลุบโผล่ขึ้นมาตามระยะเวลาที่กำหนด ตามสถานที่ที่เหมาะสม เป็นครั้งคราวมิใช่ตั้งหน้าร้านอยู่ถาวรแบบการตั้งร้านปกติ


3. การโฆษณาผ่านทางอิเมลล์
ตอบ การตลาดผ่านทางอีเมล์ใช้งานได้ดีสำหรับธุรกิจโรงแรมในปัจจุบันนี้มากกว่าเมื่อก่อน โดยวัดจากผลลัพธ์ของผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่มีการใช้ผ่านMySpace,Facebook, Twitter และ “Social Network Marketing” ผลงานวิจัยพบว่าประมาณ 90% หรือมากกว่าของอีเมล์ตอบรับที่ผู้ใช้เก็บสะสมไว้ล้วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าวิธีการทำการตลาดโดยใช้อีเมล์ เป็นสื่อกลางนั้นยังมีประสิทธิผลที่สูงต่อวงการโรงแรมและท่องเที่ยวแต่อีเมล์มักถูกมองเป็นสื่อกลางที่ให้ผลคุ้มค่าที่จะรักษา “Top of Mind” awareness และเป็นเครื่องเตือนใจว่าโรงแรมของท่านเป็นสถานที่ที่น่าเข้าพัก จัดประชุมและรับประทานอาหาร แต่อีเมล์ก็สามารถสร้างความยุ่งยากจาก Spam Acts, Opt Ins and Outs และอีเมล์ถูกทำให้เป็นเครื่องมือที่แพงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้มันไม่ได้เป็นอย่างนี้อีกแล้ว 


4. การโฆษณาผ่านทาง URL
ตอบ เป็นการโฆษณาโดยอาศัยเครื่องมือประเภทเว็บไดเรกทอรีและเสิร์ชเอนจิ้นโดยผู้ใช้บริการจะต้องลงโฆษณากับผู้ให้บริการเหล่านี้ก่อนซึ่งมีทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดจากนั้นโปรแกรมก็จะจัดเก็บดัชนีคำศัพท์และURL(Universal Resource Locator) ของเว็บไซต์ไว้ในฐานข้อมูล หากมีผู้ใช้ค้นหาคีย์เวิร์ด (Keyword) ที่ตรงกับข้อมูลของ URL ใดโปรแกรมก็จะแสดงผลลัพธ์เป็นชื่อURLของเว็บไซต์นั้นขึ้นมาตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการประเภทนี้เช่นwww.google.com, www.yahoo.com และ www.altavista.com



5. การโฆษณาผ่านห้องสนทนาและบล๊อก
ตอบ ห้องสนทนา(Chat Room)เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง กล่าวคือ คู่สนทนาสามารถโต้ตอบระหว่างกันได้ในเวลาที่เกิดขึ้นจริง ณ ขณะนั้น โดยที่ไม่ต้องเผชิญหน้ากัน ห้องสนทนาจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่นำมาใช้เป็นช่องทางโฆษณาได้ โดยวิธีนี้จะแตกต่างจากการใช้แบนเนอร์เพื่อโฆษณาบนเว็บเพจทั่วไป กล่าวคือ สามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้ตลอดเวลาที่มีการออนไลน์อยู่ และสามารถย้อนกลับมานำเสนอสินค้าชนิดเดิมกับกลุ่มลูกค้าเดิมซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็มีข้อจำกัดที่สำคัญ คือต้องใช้เวลาในการสนทนานาน และกลุ่มเป้าหมายที่ได้ค่อนข้างแคบ

6. การโฆษณาผ่านเกมส์ออนไลน์
ตอบ เกมส์ออนไลน์หลายๆเกม มักจะพบว่า มีป้ายโฆษณา หรือแบนเนอร์ใน Interface ขณะต่างๆให้เห็นอย่างต่อเนื่อง เป็นการโฆษณาโดยใช้เกม หรือเรียกว่า Advertising Gaming หรือ AdverGame หลักการของ AdverGame ถูกตั้งขึ้นโดย Anthony Giallourakis ในปี 2000 ต่อมาจึงถูกตีพิมพ์ในคอลัมน์ Jargon Watch ในนิตยสาร Wired รายเดือนของสหรัฐอเมริกาในปี 2001 แนวคิดของ Anthony Giallourakis จึงทำให้บริษัทเกมใหญ่ๆหลายแห่งมีแนวคิดในการให้บริการเกมฟรี โดยจะมีรายได้มาจากการโฆษณา เช่นเกมในปัจจุบัน..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/288011


วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559


     แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3


1.)เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจและทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อมูลค่าทางธุรกิจมากมายให้แก่ภาคธุรกิจ จงยกตัวอย่างมูลค่าทางธุรกิจที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้

ตอบ บริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail: e-Mail) การใช้บริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะมีลักษณะรูปแบบเช่นเดียวกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์เพียงแต่จะเปลี่ยนเป็นการส่งจากระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของผู้รับผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยสามารถส่งเอกสารจดหมายที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือ รูปภาพ กราฟฟิก วิดีโอ โปรแกรม หรือแฟ้มข้อมูลประเภทต่างๆ ได้โดยจะดำเนินการจัดส่งไปยังผู้รับภายในเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น จะเห็นได้ว่าการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะทำได้อย่างสะดดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการส่งจดหมายธรรดาหรือ EMS เป็นอย่างมาก ทำให้บริการนี้กลายเป็นบริการที่มีประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะในการติดต่อทางธุรกิจในยุปัจจุบัน
     ปัจจุบันมีหน่วยงานบางแห่งได้มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการรับส่งอีเมล์ขึ้นใหม่เพื่อให้รองรับการใช้งานผ่านเครือข่าย WWW ได้อีกด้วย โดยผู้ใช้สามารถที่จะสมัครลงทะเบียนที่เว็บไซต์ ของหน่วยงานที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นก็จะได้รับอีเมล์แอดเดรสและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้บริการผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว บริการรับส่งอีเมล์ผ่านเว็บในลักษณะนี้เรียกว่า เว็บเมล์ (Web Mail) สำหรับเว็บเมล์สำหรับของต่างประเทศที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีอยู่หลายแห่ง

2.) จงสรุปความความท้าทายในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับธุรกิจในยุคปัจจุบัน
ตอบ ความท้าทายในในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับธุรกิจ ในปัจจุบัน คือความเร็วกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดเป้าหมายสำคัญข้อแรกในกระบวนการวางแผนธุรกิจคือ แผนงานในการสร้างความเร็วให้ระบบ โดยแผนงานดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้จะต้องวางกรอบการทำงานเพื่อตอบสนองคำถามพื้นฐานต่อไปนี้

            1. ธุรกิจมีวิธีการที่จะนำสินค้าเข้าสู่ตลาดให้รวดเร็วได้อย่างไร
            2. คู่แข่งของธุรกิจมีวิธีการที่จะนำสินค้าของเขาเข้าสู่ตลาดให้รวดเร็วได้อย่างไร
            3. ธุรกิจสามารถพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสินค้าที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็วมากน้อยแค่ใหน
            4. อินเทอร์เน็ตสามารถเปลี่ยนแปลงธุรกิจได้รวดเร็วแค่ใหน
      
เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางทางการค้าที่ทันสมัยซึ่งทำให้ผู้ค้ารายย่อยสามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้โดยการสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า หนทางหนึ่งที่อินเทอร์เน็ตสามารถช่วยผู้ค้ารายย่อย ก็คือ ผู้ค้ารายย่อยสามารถเข้าถึงระบบการแลกเปลี่ยนขอมูลอิเล็กทรอนิกส์ และระบบเครือข่ายที่มีต้นทุนสูงได้โดยตรงอย่างที่ไม่สามารถกระทำได้ในอดีต

3.) สรุปความแตกต่างของเครือข่าย LAN,WAN,CAN,MAN มาให้พอเข้าใจ
ตอบ LAN คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใกล้ๆ กัน โดยแต่ละเครื่อสามารถติดต่อสื่อสารได้กันโดยใช้ สายเคเบิล อินฟราเรด สายไฟ เป็นต้น
     WAN คือ ระบบเครือข่ายแลนสองระบบเครือข่ายหรือมากกว่าเชื่อมต่อกัน โดยส่วนมากจะครอบคุมพื้นที่กว้าง 
     CAN คือ ระบบมีกฏเกณฑ์เหมือนกับแลนแต่มีขนาดใหญ่กว่า แคนทำให้สำนักงานของมหาวิทยาลัย หรือองค์กรต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้
     MAN คือ ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายแลนหลายๆเครือข่ายเข้าไว้ด้วยกัน เครือข่ายแมนอยู่กระจายห่างกันทั่วเมือง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร

4.)จงอธิบายคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลต่อไปนี้มาอย่างเข้าใจ
ตอบ 4.1 Telecommunication คือ  การติดต่อสื่อสารด้วยการรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างตัวประมวลผล โดยผ่านสื่อกลางที่เชื่อมต้นทางและปลายทางที่ห่างกัน โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบ ตามกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นในแต่ละอุปกรณ์ 

   4.2 Medium คือ สื่อนำข้อมูล

    4.3 Protocol คือ ระเบียบวิธีการ มาตรฐาน หรือกฎเกณฑ์ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันของเครื่องมืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ หรือ วิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องส่งข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูล จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้ 

    4.4 WWW คือ เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก เรามักเรียกย่อๆกันว่า เว็บ คือรูปแบบหนึ่งของระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายข่าวสาร ใช้ในการค้นหาข้อมูลข่าวสารบน Internet จากแหล่งข้อมูลหนึ่ง ไปยังแหล่ง ข้อมูลที่อยู่ห่างไกล ให้มีความง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด   WWW จะแสดงผลอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่เรียกว่า ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่รวบรวมข่าวสารข้อมูลที่อยู่กระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ ทั่วโลกให้สามารถนำมาใช้งานได้เสมือนอยู่ในที่เดียวกัน  โดยใช้เว็บเบราเซอร์ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการดู หรืออ่านข้อมูลเหล่านั้น

    4.5 Internet คือ  การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

    4.6 Extranet คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 72 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (virtual network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้

    4.7 File Transfer Protocol คือ  โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต

    4.8 Client / server คือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้ เครือข่ายแบบ Client / server เหมาะกับระบบเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client )อาจเป็นหลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบมาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด ( Fault Tolerance )และต้องคอยให้บริการทรัพยาการให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลา โดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้ 

    4.9 Web Brower คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลเและติดต่อสื่อสารกับระบบสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของเว็บเพจ ซึ่งอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า World Wide Web (WWW)

    4.10 Router คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแปลความหมายคำว่า Route ก็คือ ถนน นั่นเอง ดังนั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน

5.) สื่อกลางข้อมูลแบบมีสายประกอบไปได้วยสายสัญญาณอะไรบ้าง
 ตอบ 1. สายคู่บิดเกลียว(twisted pair)
            2. สายโคแอกเชียล (coaxial)
            3. เส้นใยนำแสง (fiber optic)

6.)สื่อกลางข้อมูลแบบไร้สายประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
    ตอบ 1. คลื่นวิทยุ (Radio Wave)
            2. สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave)
            3. แสงอินฟราเรด (Infrared)
            4. ดาวเทียม (satilite)
            5. บลูทูธ (Bluetooth)

7.) ผู้เรียนคิดว่าเครือข่ายสถาบันการศึกษา หรือองค์กรที่สังกัดอยู่ประกอบไปด้วยเครือข่ายชนิดใดบ้าง
    ตอบ LAN , CAN

8.) ยกตัวอย่างอุปกรณ์ในระบบแลน (LAN) ทีพบเห็นในองค์กรธุรกิจ มา 2 ตัวอย่างพร้อมบอกประโยชน์ที่ได้รับจากอุปกรณ์นั้นๆ
    ตอบ 1. โรงงานอุตสาหกรรม ประโยชน์ที่ได้คือ ความเป็นปัจจุบันของข้อมูลและไม่ซ้ำซ้อน สามารถดึงหรือค้นหาข้อมูลภายในโรงงานได้ทั่วถึง
            2. สำนักงาน ประโยช์ที่ได้คือ การใช้สื่อสารภายในองค์กร การบันทึกข้อมูลและได้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่ซ้ำกัน ข้อมูลมีความแม่นยำและถูกต้อง

9.)เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ต และเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต มีความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
    ตอบ ต่างกันที่ อินเทอร์เน็ต (Internet) เครือข่ายสาธารณะ
                           อินทราเน็ต (Intranet) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล
                           เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) หรือเครือข่ายร่วม

10.) ยกตัวอย่างบริการบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ธุรกิจสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการธุรกิจมา 3 บริการ พร้อมบอกเหตุผลประกอบว่า นำมาประยุกต์ใช้อย่างไร
 ตอบ 1. ธุรกิจขายออนไลน์ โดยการนำมาโพสขายของผ่านเว็บไซร์ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน
              2. ธุรกิจธนาคารออนไลน์ โดยการสร้างแอพขึ้นมา เพื่อให้สามารถ โอน จ่าย ได้ทางอินเตอร์โดยไม่ต้องไปธนาคาร
              3. ธุรกิจตู้เติมเงินออนไลน์ โดยการสร้างตู้ขึ้นมา สามารถไปเติมเงินมือถือได้โดยไม่ต้องไปซื้อบัตรหรือสลิปได้ 

สรุปบทที่ 1

บทบาทการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการธุรกิจ

 จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ จะพบว่าธุรกิจมีการแข่งขันการสูงมาก ต้องอาศัยวิธีการและกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดต้องมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างดี วิเคราะห์ความต้องการของตลาดหรือกลุ่มลูกค้าของตนเอง มีเงินลงทุนมีความกล้าและความอดทนสูงจึงจะสามารถนำพาธุรกิจของตนให้อยู่รอดและเจริญก้าวหน้าได้หากวางแผนการดำเนินการไม่ดี กลยุทธ์การดำเนินงานไม่ดีขาดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจนั้นอาจจะประสบปัญหาไม่สามารถดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง คือ ความรวดเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้าประจำของธุรกิจนั้นตลอดไป หากธุรกิจใดดำเนินงานแบบไม่มีขั้นตอนหรือขั้นตอนมากจนลูกค้าสับสน ให้บริการล่าช้า ไม่ประทับใจ ก็จะเป็นสาเหตุให้ลูกค้าที่เคยมีอยู่ค่อยลดน้อยลง จนทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ ดังนั้นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการจัดการธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึง

    ความหมายและขอบเขตการจัดการธุรกิจ

    ในปัจจุบันได้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ธุรกิจจะดำเนินงานได้อย่างประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการจัดการ และบุคคลสำคัญที่รับผิดชอบในการจัดการโดยตรงก็คือ ผู้บริหาร การมีผู้บริหารที่มีคววามสามารถจึงเป็นสิ่งที่องค์การธุรกิจทุกแห่งต้องการ
    ประเภทของผู้บริหารแบ่งตามระดับการจัดการ
    ประเภทของผู้บริหารที่ทำหน้าที่ทางการบริหารจัดการสำหรับธุรกิจโดยแบ่งตามระดับการจัดการแบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่
    1. ผู้บริหารระดับสูง เช่น ประธานบริษัท เป็นต้น
    2. ผู้บริหารระดับกลาง เช่น ผู้จัดการฝ่าย เป็นต้น
    3. ผู้บริหารระดับล่าง เช่น หัวหน้างาน เป็นต้น
    ประเภทของผู้บริหารแบ่งตามหน้าที่งาน
    ประเภทของผู้บริหารที่ทำหน้าที่ทางการบริหารจัดการสำหรับธุรกิจโดยแบ่งตามหน้าที่งานแบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่
    1. ผู้บริหารการผลิต เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบในการผลิตสินค้าและบริการ
    2. ผู้บริหารการตลาด เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการตลาดของสินค้าและบริการ
    3. ผู้บริหารการเงิน เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการเงินและการบัญชี
    4. ผู้บริหารทรัพยากรบุคคล เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล
    5. ผู้บริหารทั่วไป เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบในการประสานงานของทุกๆ หน้าที่งานเข้าด้วยกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญเฉพาะด้านในการผลิต การตลาด การเงิน หรือทรัพยากรบุคคล
    วิวัฒนาการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
    คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นประมาณ 50 ปีก่อนนั้น มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงจากอดีตอย่างมากมาย การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในทุกวงการเป็นไปอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในงานธุรกิจมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการทำงานในระดับปฏิบัติและในระดับบริหารในธุรกิจทุกประเภท ดังนั้นการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงพัฒนาการการใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ย่อมจะช่วยให้เกิดความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธภาพต่อธุรกิจนั้นๆ

    ยุคประมวลผลข้อมูลหรือยุคดีพี(Data Proceesing Era : DP Era)
    การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยเริ่มต้น เมื่อสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องขนาดใหญ่เพื่อสำมะโนประชากรในราวปี พ.ศ. 2505 หลังจากนั้นก็เริ่มมีการดำเนินการในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน สำหรับภาคเอกชน การประยุกต์คอมพิวเตอร์ในธุรกิจในระยะแรกๆ นั้นมักจะเป็นกิจการขนาดใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์ในช่วงเวลานั้นจะต้องลงทุนสูงมาก ดังนั้นการใช้คอมพิวเตอร์ในธุรกิจในยุคประมวลผลข้อมูล สามารถสรุปได้เป็น 6 ประเด็นหลักๆ ได้ดังนี้ คือ
    1. ลักษณะการใช้งานทั่วไป
    2. จุดมุ่งหมายของการใช้คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
    3. รูปแบบของการประมวลผลข้อมูล
    4. เทคโนโลยียุคประมวลผลข้อมูล
    5. การบริหารจัดการงานคอมพิวเตอร์
    6. การพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศ

    ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคไอที (Information Technology Era : IT Era)
    การใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสรุปเป็น 5 ประเด็นหลักได้ดังนี้คือ
    1. ลักษณะการใช้งานทั่วไป
    2. การประยุกต์ในงานด้านอื่นๆ
    3. ระบบสารสนเทศในธุรกิจ
    4. โปรแกรมสำเร็จรูป
    5. การบริหารจัดการงานคอมพิวเตอร์

ยุคเครือข่ายหรือยุคเน็ตเวิร์ค (Network Era)
    ยุคเครือข่ายเป็นยุคกที่มีการผสมผสานการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ากับเทคโนโลยีโทรคมนาคมเพื่อให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบเครือข่าย การดำเนินธุรกิจในยุคเครือข่ายมีการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน พอสรุปได้ดังนี้ คือ
    1. การทำงานภายในองค์การจากเดิมทำงานแบบบุคคล (Personal Computing)
    2. ระบบงาน
    3. โครงสร้างองค์การธุรกิจ
    4. การประยุกต์ในการดำเนินธุรกิจ
    ลักษณะการใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
    ถึงแม้ว่าแต่ละธุรกิจจะมีการแบ่งโครงสร้างขององค์การที่แตกต่างกัน แต่การใช้งานคอมพิวเตอร์ก็ยังมีคการวามคล้ายคลึงกันซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้คือ การใช้คอมพิวเตอร์ในภารกิจหลักของธุรกิจ การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานร่วมกันในงานกลุ่ม การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานส่วนบุคคล มีรายละเอียดดังนี้

     1. การใช้คอมพิวเตอร์ในภารกิจหลักของธุรกิจ (Mission Critical Application)
     การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในภารกิจหลักก่อให้เกิดผลดี ดังนี้

    1. ลดต้นทุนการดำเนินงาน
    2. การเพิ่มรูปแบบบริการให้มีความหลากหลายและรวดเร็ว ลูกค้าหรือผู้รับบริการพอใจทำให้มาใช้บริการเป็นประจำ
    3. การเพิ่มผลผลิตขององค์การ ทั้งนี้เนื่องจากผลผลิตของพนักงานสูงขึ้นย่อมจะส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจให้เพิ่มตามไปด้วยเช่นกัน
    4. การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้น รวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจนั้นด้วย

    2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานร่วมกัน

    แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลักดังนี้
    1. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
    2. การปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
    3. การตัดสินใจและการแก้ปัญหา (Decision and Problem Solving)

    3. การใช้งานคอมพิวเตอร์ในการทำงานส่วนบุคคล
    1. งานด้านการพิมพ์และจัดทำเอกสาร (Word Processing)
    2. งานด้านการจัดทำจดหมาย (Mail Merge)
    3. งานด้านการคำนวณโดยใช้โปรแกรมตารางคำนวณ (Spreadsheet)
    4. งานด้านการนำเสนอ (Presentation)
    5. งานด้านการจัดการข้อมูล (Data Management)
    6. งานด้านการนัดหมาย(Appointment)

    การใช้คอมพิวเตอร์ในระดับบริหาร

    สำหรับการใช้คอมพิวเตอร์ในระดับผู้บริหารนั้น สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในงานสารสนเทศเพื่อการบริหารในแต่ละระดับของการบริหารองค์การตามหน้าที่พื้นฐานของธุรกิจ และตามสายงานของธุรกิจ นอกจากนี้การใช้งานคอมพิวเตอร์ยังคำนึงถึงความจำเป็นของสารสนเทศต่องานบริหาร และการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างสารสนเทศเพื่อการบริหาร
    การใช้คอมพิวเตอร์ในระดับกลยุทธ์

    การบริหารองค์การใดๆ ผู้บริหารจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์และรอบรู้ในการนำเสนอสารสนเทศที่เกิดขึ้นจากภายในและภายนอกองค์การธุรกิจมาเป็นข้อมูลพื้นฐาน งานของผู้บริหารระดับสูงเกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์ กำหนดภารกิจ กำหนดวัตถุประสงค์ รวมทั้งการกำหนดแผนกลยุทธ์ เพื่อนำองค์การไปสู่จุดหมายที่กำหนด

    การใช้สารสนเทศในระดับยุทธวิธี

    สำหรับการสารสนเทศในระดับยุทธวิธีของผู้บริหารนั้น มีประเด็นที่สามารถนำมาพิจารณาการใช้สารสนเทศในระดับยุทธวิธีประกอบด้วย 3 ประเด็น คือ
    1. คุณลักษณะของสารสนเทศเพื่อการวางแผนยุทธวิธี
    2. แหล่งที่มาและการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อการวางแผนยุทธวิธี
    3. ตัวอย่างการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนยุทธวิธี

    การใช้สารสนเทศในระดับปฏิบัติการ
    1. คุณลักษณะของสารสนเทศสำหรับแผนปฏิบัติการ
    2. แหล่งที่มาของสารสนเทศสำหรับแผนปฏิบัติการ
    3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
    4. ตัวอย่างการใช้สารสนเทศในการวางแผนปฏิบัติการ

    การใช้คอมพิวเตอร์กับการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ
    มี 3 ลักษณะ คือ
    1. คอมพิวเตอร์กับการปรับปรุงประสิทธิผลของงาน และการลดต้นทุนในการดำเนินงาน
    2. คอมพิวเตอร์กับการปรับปรุงคุณภาพและลักษณะของสินค้าและบริการ
    3. คอมพิวเตอร์กับการปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

    คอมพิวเตอร์กับการสนับสนุนการประดิษฐ์คิดค้นทางธุรกิจ
    มี 3 ลักษณะ คือ
    1. คอมพิวเตอร์กับสิ่งใหม่ทางธุรกิจ
    2. คอมพิวเตอร์กับตลาดหรือช่องทางธุรกิจแนวใหม่
    3. คอมพิวเตอร์กับการผลิต ช่องทางการกระจายสินค้า และกระบวนใหม่

    สรุป
    ธุรกิจในปัจจุบันได้นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงาน ทำให้ประสบความสำเร็จตามเป้าที่กำหนดไว้ได้ โดยคอมพิวเตอร์สามารถเข้ามามีบทบาทในระดับผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับต้น และระดับปฏิบัติการ การใช้คอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการวางแผน และการตัดสินใจเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการดำเนินการประจำวันของธุรกิจทั้งการใช้คอมพิวเตอร์ในระบบธุรกิจหลัก การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานร่วมกัน และการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานส่วนบุคคลเพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน การเพิ่มรูปแบบการบริหารที่หลากหลายและรวดเร็ว การเพิ่มผลผลิตในองค์กร เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันโดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์เครือข่าย รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน เช่น การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์การประชุมทางไกล การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการทำเอกสาร การติดตามและการควบคุมโครงการ รวมถึงด้านการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น



 แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

1. ข้อมูลและสารสนเทศต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูลและสารสนเทศมีความแตกต่างกันคือ ข้อมูล เป็นข้อมูลที่ไม่ผ่านการประมวลผลที่แน่ชัดเป็นข้อมูลที่ได้มาแบบธรรมดา ไม่เป็นไปตามวิชาการ เช่นคำพูดคนที่สามารถบอกข้อมูลต่างๆที่เราร้มาได้  แต่ สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วและมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์  มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเป็นจำนวนมากมาย เช่น เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่กฎเกณฑ์และวิขาการ เป็นต้น
     ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/30687

2. ระบบสารสนเทศทางธุรกิจคืออะไร มีบทบาทอย่างไรต่อองค์กรหรือภาคธุรกิจ จงอธิบาย
                 ตอบ ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร
      เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสมัยปัจจุบัน โดยเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทั้งใน ระดับ มหภาค และจุลภาค โดยระบบสังคมใหม่เป็นสังคมที่ข้อมูลข่าวสารสามารถเดินทางได้อย่างอิสระ บุคคลสามารถเข้าถึงและ นำข้อมูล มาใช้ ประโยชน์ อย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดพัฒนาการที่รวดเร็วทางเศรษฐกิจสังคม การเมือง และเทคโนโลยี นอกจากการเปลี่ยนแปลง ในระดับมหภาคแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ซึ่งช่วยสร้างความ สามารถใน การแข่งขันและ ศักยภาพในการ เติบโตแก่ธุรกิจ บูรณาการของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการดำเนินธุรกิจ
    พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความท้าทายต่อผู้บริหารในการบริหารงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการ บูรณา การระหว่างเทคโนโลยีกับการดำเนินธุรกิจ (Integration between Technology and Business Operations) โดยผู้บริหาร ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ผู้บริหารต้อง สามารถ จัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้
       1.กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
       2.กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงการสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
   3.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (Information System Infrastructure) เช่นอุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสาร และจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความ ยืดหยุ่นในการปรับ แต่งของงาน สาร สนเทศ ในองค์การ
 4.กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการ ประยุกต์ เทคโนโลยี สารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ

3. วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่ธุรกิจนำระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการเงินมาใช้เพื่อประโยชน์ทางด้านใด จงสรุปมาพอเข้าใจ
                  ตอบ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่งเฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องในการทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหาร เป็นต้น เช่นการออกแบบและการพัฒนาระบบ โดยที่ระบบสารสนเทศทางด้านการบัญชี จะเป็นระบบที่รวบรวมจัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ระบบบัญชีการเงิน และ ระบบบัญชีการบริหาร

4. วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่ธุรกิจนำระบบสารสนเทศด้านการตลาดและการขาย เพื่อประโยชน์ทางด้านใดจงสรุปมาพอเข้าใจ
                   ตอบ การตลาดและงานขายเป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจ เนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดและงานขายจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดส่งเสริมการขายจนกระทั่งสินค้าถึงมือลูกค้า ส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 4 หลักคือ ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่ หรือที่เรียกว่า 4P's โดยสารสนเทศที่นักการตลาดต้องการวิเคราะห์ วางแผนตรวจสอบและควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลต่อไปนี้ คือ การปฏิบัติงาน การวิจัยตลาด คู่แข่ง กลยุทธ์องค์การ ข้อมูลภายนอก และยังมีระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดและมีความแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ คือ ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย ระบบสารสนเทศ
สำหรับวิเคราห์การขาย ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้า ระบบสารสนเทศสำหรับการหาขนาดของตลาด ระบบสารสนเทศสำหรับการสงเสริมการขาย ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย

5. ระบบทันเวลาพอดี (Just-In-Time:JIT) คืออะไร เหมาะสมกับธุรกิจประเภทใด และเป้าหมายของการผลิตของระบบ JIT อยู่ภายใต้เงื่อนไขใด
ตอบ การผลิตแบบ Just In Time หรือ JIT  คือ การผลิตหรือการส่งมอบสิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ โดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ ซึ่งหมายรวมถึงบุคคลากรในส่วนงานต่าง ๆ ที่ต้องการงานระหว่างทำ (Work In Process) หรือวัตถุดิบ (Raw Material) เพื่อให้เกิดการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้วัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ (Raw Material), งานระหว่างทำ (Work In Process) และสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) กลายเป็นศูนย์ โดยวัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดีคือ
1. ต้องการควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory)
2. ต้องการลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิตให้น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Lead Time)
3. ต้องการขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตให้เป็นศูนย์ (Zero Failures)
4. ต้องการขจัดความสูญเปล่าในการผลิตดังต่อไปนี้
        - การผลิตมากเกินไป : ชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ถูกผลิตมากเกินความต้องการ
        - การรอคอย : วัสดุหรือข้อมูลสารสนเทศ หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวหรือติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก
        - การขนส่ง : มีการเคลื่อนไหวหรือมีการขนย้ายวัสดุในระยะทางที่มากเกินไป
        - กระบวนการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ : มีการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น        - การมีวัสดุหรือสินค้าคงคลัง : วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมีเก็บไว้มากเกินความจำเป็น
        - การเคลื่อนไหว : มีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นของผู้ปฏิบัติงาน
        - การผลิตของเสีย : วัสดุและข้อมูลสารสนเทศที่ไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ
     เหมาะสำหรับ อุตสาหกรรมการผลิต
ผลกระทบจากการผลิตแบบทันเวลาพอดี
    1. ปริมาณการผลิตขนาดเล็ก ระบบ JIT จะพยายามควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดเพื่อไม่ก่อนให้เกิดต้นทุนในการจัดเก็บและต้นทุนค่าเสียโอกาส จึงผลิตในปริมาณที่ต้องการเท่านั้น
    2. ระยะเวลาการติดตั้งและเริ่มดำเนินงานสั้น ผลจากการลดขนาดการผลิตให้เล็กลง ทำให้ฝ่ายผลิตต้องเพิ่มความถี่ในการจัดการขึ้น ดังนั้น ผู้ควบคุมกระบวนการผลิตจึงต้องลดเวลาการติดตั้งให้สั้นลงเพื่อไม่ให้เกิดเวลาว่างเปล่าของพนักงานและอุปกรณ์และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอย่างเต็มที่
    3. วัสดุคงคลังในระบบการผลิตลดลง เหตุผลที่จำเป็นต้องมีวัสดุคงคลังสำรองเกิดจากความไม่แน่นอน ไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวน การผลิต ระบบ JIT มีนโยบายที่จะขจัดวัสดุคงคลังสำรองออกไปจากกระบวนการผลิตให้หมด โดยให้พนักงานช่วยกันกำจัดปัญหาความไม่สม่ำเสมอที่เกิดขึ้น
    4. สามารถควบคุมคุณภาพสินค้าได้อย่างทั่วถึง โดยผู้ปฏิบัติงานจะเป็นผู้ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพด้วยตนเอง
ประโยชน์ที่เกิดจากการผลิตแบบทันเวลาพอดี
    1. เป็นการยกระดับคุณภาพสินค้าให้สูงขึ้นและลดของเสียจากการผลิตให้น้อยลง เนื่องจากเมื่อชิ้นงานเสร็จก็จะส่งไปยังคนต่อไปทันที และเมื่อพบข้อบกพร่องก็จะรีบแจ้งให้คนงานที่ผลิตทราบทันทีเพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง จึงทำให้คุณภาพสินค้าดีขึ้น ซึ่งต่างจากการผลิตครั้งละมาก ๆ ที่คนงานมักไม่ค่อยสนใจข้อบกพร่องของชิ้นงานแต่จะรีบส่งต่อทันทีเพราะยังมีชิ้นส่วนที่ต้องผลิตต่ออีกมาก
    2. ตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็ว เนื่องจากการผลิตมีความคล่องตัวสูง การเตรียมการผลิตใช้เวลาน้อยและสายการผลิตก็สามารถผลิตสินค้าได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน ทำให้สินค้าสำเร็จรูปคงคลังเหลืออยู่น้อยมาก การพยากรณ์การผลิตก็แม่ยำขึ้น ผู้บริหารไม่ต้องเสียเวลาในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในโรงงาน ทำให้มีเวลาเลือสำหรับการกำหนดนโยบาย วางแผนการตลาด หรือทำเรื่องอื่น ๆ มากขึ้นด้วย
    3. คนงานจะมีความรับผิดชอบต่องานของตนเองและงานของส่วนรวมสูง เนื่องจากจะต้องผลิตสินค้าที่ดี มีคุณภาพสูง ส่งต่อให้คนงานคนต่อไป คนงานทุกคนต้องช่วยกันแก้ปัญหาเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในการผลิต เพื่อไม่ให้เกิดการหยุดชะงักเป็นเวลานาน
        ที่มา : http://jeducation.com/career/knowledge/2010/03/

6. MRP คืออะไรเป็นระบบที่มีลักษณะอย่างไรเหมาะกับธุรกิจประเภทใด
                ตอบ คือ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการควบคุมวัสดุและการวางแผนการผลิต ระบบวางแผนความต้องการวัสดุจะพิจารณาความต้องการวัสดุจนถึงระดับผลิตภัณฑ์ โดยคำนวณความต้องการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อจัดการสั่งผลิตหรือสั่งซื้อส่วนประกอบนั้นๆ นอกจากนี้ ระบบวางแผนความต้องการวัสดุยังทำหน้าที่เป็นกลไกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตารางการผลิตเมื่อมีการทบทวนแผนงาน และเป็นระบบที่ใช้ในงานบริหารการผลิตในธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมการผลิต เป็นระบบที่ช่วยในการวางแผนเกี่ยวกับความต้องการใช้วัตถุดิบว่าใช้ในช่วงใดบ้าง ปริมาณเท่าใด และนำไปใช้ในเงื่อไขอะไร (ผลิต,ขาย) เพื่อให้ปริมาณสินค้าคงคลังอยู่ในระดับที่เหมาะสม (ไม่สูงหรือต่ำเกินไป) รวมไปถึงการจัดการเรื่อง เงินทุน แรงงานและเครื่องจักรและการจัดการวางแผนและควบคุมการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธภาพสูงสุด เหมาะกับ โรงงานอุตสาหกรรม
7. HRIS ช่วยการดำเนินการของฝ่ายบุคลากร ได้อย่างไรบ้าง

ตอบ   1. ระบบงานวางแผนกำลังคน(Man Power Planning) แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหว
               2. ระบบงานทะเบียนประวัติ (Central Database) ช่วยในการเก็บข้อมูลด้านประวัติส่วนตัวของบุคลากร ประวัติการทำงาน ฯลฯ ซึ่งระบบอื่นๆ สามารถดึงข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้
               3. ระบบการตรวจสอบเวลา (Time Attendance) ระบบจะดึงเวลาจากเครื่องรูดบัตร มาเปรียบเทียบกับตารางเวลาทำงานปกติของพนักงาน แล้วรายงานความผิดพลาดที่เกิดขึ้นออกมา เช่น การขาดงาน, การมาสาย, การลา, หรือการทำงานล่วงเวลา เป็นต้น
                4. ระบบงานด้านการคำนวณเงินเดือน (Payroll) ช่วยในการบริหารเงินเดือน ค่าตอบแทน และภาษี โดยที่ระบบจะทำการคำนวณอัตโนมัติ
                5. ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Evaluation) ช่วยในการกำหนดมาตรฐานในการประเมินผล ช่วยในการบันทึก คำนวณผลลัพธ์ และสรุปการประเมินผลของบุคลากร ในเรื่องการขึ้นเงินเดือนและการเลื่อนขั้นตำแหน่ง
               6. ระบบงานพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร (Training and Development) เป็นระบบที่ ช่วยในการวางแผนการพัฒนาบุคลากร
               7. ระบบงานสวัสดิการต่างๆ (Welfare) ช่วยในการเก็บบันทึกและบริหารงาน ข้อมูล เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล, เงินกู้, การเบิกวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
               8. ระบบการสรรหาบุคลากร(Recruitment) เป็นระบบที่บันทึกข้อมูลการสมัครงาน สามารถสร้างแบบฟอร์มการทดสอบ, แบบฟอร์มสำหรับการสัมภาษณ์งานได้ และเมื่อพนักงานผ่านการคัดเลือกแล้ว ก็สามารถโอนข้อมูลเข้าสู่ระบบรวมได้โดยอัตโนมัติ
               ที่มา : http://www.hrtothai.com/Articles/Index/964

8. ระบบสารสนเทศมีส่วนช่วยในการติดต่อสื่อสาร อย่างไรบ้าง
                  ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว มีการทำกิจกรรมหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น
          1. ด้านการศึกษา
          2. ด้านการแพทย์และสาธารณสุข
          3. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นต้น

9. ข้อมูลภายนอกซึ่งเป็นปัจจัยมีผลต่อการบริหารการเงินของธุรกิจได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์

10. ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์คือระบบใด มีลักษณะอย่างไรและธุรกิจได้ประโยชน์อะไรบ้างจากระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คือ ระบบสารสนเทศใดๆ ที่ช่วยสนับสนุนกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กร  มีลักษณะสำคัญ คือ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจของหน่วยงานได้อย่างขนาดใหญ่ซึ่งนั้นก็คือสามารถทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ระบบ SIS ทำเช่นนี้ได้โดยการกำหนดเป้าหมายของหน่วยงาน หรือในการช่วยเพิ่มสมรรถนะและผลผลิตได้อย่างมาก ระบบ SIS อาจมีลักษณะมองออกไปข้างนอกคือความสนใจต่อลูกค้า หรือมองเข้ามาข้างในคือให้ความสนใจต่องค์กรเอง การมองไปข้างนอกเป็นการมุ่งที่การแข่งขันในตลาด เช่น การจัดหาบริหารใหม่ๆ ให้ลูกค้า หรือการผูกสัมพันธ์กับผู้ส่งชิ้นส่วนโดยมีจุดประสงค์ที่จะตีคู่แข่งเป็นระบบ SIS ที่มองเข้ามาข้างในนั้นจะเน้นที่การเพิ่มผลิตภาพของพนักงานปรับปรุงการทำงานเป็นทีม และสร้างการสื่อสารเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด